|
||
![]() คลิกที่นี่ ...คู่มือธงชาติไทย กฎ ระเบียบ การใช้ การชัก การแสดงความเคารพธงชาติไทย (ไฟล์ PDF) คลิกที่นี่ ...เอกสารนำเสนอการบรรยายเรื่อง ๑๐๐ ปี ธงชาติไทย (สำหรับหน่วยงานที่ต้องการเชิญบรรยาย) (ไฟล์ PDF) คลิกที่นี่ ...รายละเอียดการจำหน่ายชุดผืนธงพัฒนาการธงชาติไทย (สำหรับประดับเสาธงเพื่อจัดนิทรรศการ) (ไฟล์ PDF) คลิกที่นี่ ...รายละเอียดชุด Roll Up นิทรรศการประวัติธงชาติไทย (สำหรับจัดนิทรรศการให้ความรู้ประวัติที่มาธงชาติไทย) (ไฟล์ PDF) แนะนำกิจกรรมการบรรยายและนิทรรศการ เพื่อสร้างการรับรู้ถึงความเป็นมาของธงชาติไทย ในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปี ธงชาติไทย ![]() พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย นำเสนอต่อ : ผู้จัดกิจกรรมงานฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี ธงชาติไทย ชื่อโครงการ : กิจกรรมการบรรยายและนิทรรศการเพื่อสร้างการรับรู้ถึงความเป็นมาของธงชาติไทยในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปี ธงชาติไทย ![]() ![]() หน่วยงานที่จัดการบรรยายและจัดนิทรรศการให้ความรู้ : พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย ดำเนินการโดย นายพฤฒิพล ประชุมผล ตำแหน่ง ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย หนึ่งในคณะกรรมการจัดกิจกรรมฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี ธงชาติไทย ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๑๐/๒๕๕๙ ลงนามคำสั่งแต่งตั้งโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ![]() ![]() ติดต่อ : Facebook : พฤฒิพล ประชุมผล (พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย) E-mail : [email protected] Line ID : siamflag Website : www.thaiflag.org และ www.siamflag.org Youtube : พิพิธภัณฑ์ ธงชาติไทย ที่ตั้งเลขที่ ๑๕ ซอยลาดพร้าว ๔๓ แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๑๐ หลักการและเหตุผล : “ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย เราจงร่วมใจยืนตรงเคารพธงชาติด้วยความภาคภูมิใจในเอกราชและความเสียสละของบรรพบุรุษไทย” คำกล่าวที่คนไทยทุกคนคุ้นเคยก่อนที่บทเพลงชาติจะเริ่มต้นขึ้น เป็นสิ่งย้ำเตือนใจให้ได้ตะหนักถึงความสำคัญของธงชาติและเพลงชาติไทยในฐานะเป็นสัญลักษณ์ที่รวมใจคนทั้งชาติให้เป็นหนึ่งเดียว และธงชาติไทยยังเป็นสิ่งเตือนใจให้คนรุ่นหลังได้รู้ถึงการเสียสละเลือดเนื้อของบรรพบุรุษที่ได้รักษาไว้ซึ่งแผ่นดินนี้เพื่อลูกหลานไทย แต่เชื่อได้ว่ายังมีคนไทยอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่ทราบถึง ความเป็นมาว่า ธงไตรรงค์ ธงชาติไทย ที่เรายืนตรงเคารพทุกเช้าเย็นนั้นมีที่มาอย่างไร ผู้ใดเป็นผู้ออกแบบ ประกาศใช้ตั้งแต่เมื่อใด และที่สำคัญกว่านั้นธงชาติไทยถือเป็นสิ่งที่คนไทยทุกคนรักและเทิดทูนในฐานะสัญลักษณ์สูงสุดของชาติ โดยเป็นสัญลักษณ์ที่ไม่อิงการเมือง เป็นสัญลักษณ์ที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดกลุ่มหรือขั้วอำนาจใดๆ แต่เป็นสัญลักษณ์ที่รวมใจคนไทยให้เกิดความรักและสามัคคีร่วมกัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงออกแบบธงไตรรงค์และพระราชทานให้เป็นธงชาติไทยเพื่อให้ประชาชนชาวไทยใช้เป็นสัญลักษณ์แสดงความเป็นชาติไทย ซึ่งประกาศใช้เป็นครั้งแรกในพระราชบัญญัติประกาศแก้ไขพระราชบัญญัติธงครั้งที่ ๒ ในวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๔๖๐ อยู่ในมาตราที่ ๓ ดังนี้ ธงชาติสยาม รูปสี่เหลี่ยมรี มีขนาดกว้าง ๒ ส่วน ยาว ๓ ส่วน มีแถบสีน้ำเงินแก่ กว้าง ๑ ส่วน ซึ่งแบ่ง ๓ ของขนาดกว้างแห่งธงอยู่กลาง มีแถบขาวกว้าง ๑ ส่วน ซึ่งแบ่ง ๖ ของขนาดกว้างแห่งธงข้างละแถบ แล้วมีแถบสีแดงกว้างเท่าแถบขาวประกอบชั้นนอกอีกข้างละแถบ ธงสำหรับชาติสยามอย่างนี้ให้เรียกว่าธงไตรรงค์ สำหรับใช้ชักในเรือพ่อค้าทั้งหลาย แลในที่ต่างๆ ของสาธรณชนบรรดาที่เปนชาติสยามทั่วไป ส่วนความหมายของแถบสีบนธงไตรรงค์ ธงชาติไทย ที่เราท่องจำกันตั้งแต่เด็กๆ ว่า แดงคือชาติ ขาวคือศาสนา น้ำเงินคือพระมหากษัตริย์ มาจากการให้คำนิยามความหมายจากบทพระราชนิพนธ์เรื่อง "เครื่องหมายแห่งไตรรงค์" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ มีดังนี้ ขอร่ำรำพรรณบรรยาย ความคิดเครื่องหมาย แห่งสีทั้งสามงามถนัด ขาวคือบริสุทธิ์ศรีสวัสดิ์ หมายพระไตรรัตน์ และธรรมะคุ้มจิตไทย แดงคือโลหิตเราไซร้ ซึ่งยอมสละได้ เพื่อรักษาชาติศาสนา น้ำเงินคือสีโสภา อันจอมประชา ธ โปรดเป็นของส่วนองค์ จัดริ้วเข้าเป็นไตรรงค์ จึ่งเป็นสีธง ที่รักแห่งเราชาวไทย ทหารอวตารนำไป ยงยุทธ์วิชัย วิชิตก็ชูเกียรติสยามฯ ดังนั้น ด้วยความที่ธงไตรรงค์เป็นธงที่พระมหากษัตริย์ทรงออกแบบด้วยพระองค์เองและพระราชทานให้เป็นธงประจำชาติไทย จึงถือเป็นสัญลักษณ์สำคัญสูงสุดของชาติ ที่รวมใจของคนทั้งชาติ และเป็นสิ่งที่ทำให้คนไทยได้รำลึกถึงการเสียสละของบรรพบุรุษ อันก่อให้เกิดสำนึกทดแทนคุณประเทศชาติสืบไป ![]() ![]() วัตถุประสงค์ : ด้วยเหตุผลดังกล่าว พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย จึงมีความพร้อมที่จะสนับสนุนและให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมในวาระการฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี แห่งการพระราชทานธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย โดยเน้นการบรรยายให้ความรู้ประวัติธงชาติไทยอย่างถูกต้องพร้อมจัดนิทรรศการอย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงจัดแสดงผืนธงชาติไทยแต่ละช่วงของพัฒนาการธงชาติไทย รวมทั้งกฎ ระเบียบ การใช้ การชัก การประดับ การแสดงความเคารพ และบทลงโทษ เกี่ยวกับธงชาติไทยที่คนไทยต้องรู้ ในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปี ธงชาติไทย ![]() ![]() กลุ่มเป้าหมาย : หน่วยงานทุกหน่วย ข้าราชการทุกสังกัด ประชาชน นักเรียน ประชาชนคนไทยทุกคน โดยมุ่งเน้นให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของธงชาติไทย รับรู้ถึงรูปแบบพัฒนาการธงชาติว่ามีกี่แบบ แต่ละแบบมีความเป็นมาอย่างไร รวมถึงกฎ ระเบียบ การใช้ การชัก การประดับ การแสดงความเคารพ และบทลงโทษ เกี่ยวกับธงชาติไทยที่คนไทยต้องรู้ งบประมาณในการจัดกิจกรรม : กิจกรรมการบรรยายเพื่อสร้างการรับรู้ถึงความเป็นมาของธงชาติไทยในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปี ธงชาติไทย แบ่งเป็น ๒ ภาค ภาคที่ ๑ บรรยายเรื่องพัฒนาการธงชาติไทยว่ามีกี่แบบ แต่ละแบบมีความเป็นมาอย่างไร รวมทั้งกฎ ระเบียบ การใช้ การชัก การประดับ การแสดงความเคารพ และบทลงโทษเกี่ยวกับธงชาติไทยที่คนไทยต้องรู้ การสาธิตวิธีการพับธงชาติไทยอย่างถูกต้องโดยผู้เข้าฟังการบรรยายจะได้รับผืนธงชาติไทยเพื่อฝึกหัดการพับธงชาติจริงๆ ภาคที่ ๑ นี้ใช้เวลาประมาณ ๓ ชั่วโมง ภาคที่ ๒ บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเพลงชาติไทย และเพลงสรรเสริญพระบารมี ภาคนี้จะใช้เวลาประมาณ ๓ ชั่วโมง นอกจากการบรรยายทั้ง ๒ ภาคแล้วยังมีการจัดนิทรรศการชุดพัฒนาการธงชาติไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันเพื่อให้ผู้เข้าฟังการบรรยายได้ศึกษาเพิ่มเติมในบริเวณโดยรอบห้องบรรยายอีกทางหนึ่ง โดยกระบวนการทั้งหมดนี้มีค่าดำเนินการวันละ ๕,๐๐๐ บาท* (ห้าพันบาทถ้วน) ซึ่งจะเป็นค่าวิทยากรและผู้ช่วยวิทยากร ค่าจัดนิทรรศการชุดพัฒนาการธงชาติไทย ค่าจัดแสดงพัฒนาการธงชาติไทย รวมเสาธง ฐานธง ผืนธงชาติจากอดีตถึงปัจจุบันสำหรับจัดแสดงบนเวทีรวม ๖ แบบ รวมถึงของรางวัลสำหรับถามตอบเพื่อกระตุ้นความสนใจซึ่งได้แก่ ริสต์แบนด์ฉลอง ๑๐๐ ปี ธงชาติไทย มูลค่าแพคละ ๑๐๐ บาท รวม ๑๐ รางวัล และแพคเกจธงชาติไทยมูลค่าชุดละ ๘๕ บาท รวม ๕ รางวัล * หมายเหตุ : ๑. ค่าเดินทางและค่าที่พักไม่รวมอยู่ในค่าดำเนินการดังกล่าว ๒. ค่าดำเนินการดังกล่าวจะถูกนำไปสมทบทุนสร้างศูนย์เรียนรู้ธงชาติไทยและสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของพิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย รูปของรางวัลสำหรับกิจกรรมถามตอบประกอบการบรรยาย : ๑. ริสต์แบนด์ฉลอง ๑๐๐ ปี ธงชาติไทย มูลค่าแพคละ ๑๐๐ บาท รวม ๑๐ รางวัล ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ผลที่คาดว่าจะได้รับ : ๑. ผู้เข้าฟังการบรรยายจะรับรู้และเกิดความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ ๖ ที่พระราชทานธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย และใช้มาบรรจบครบรอบ ๑๐๐ ปีแล้ว พร้อมกับได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของธงชาติไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน รวมถึงการได้รับความรู้ที่ถูกต้องเรื่อง กฎ ระเบียบ การใช้ การชัก การประดับธงชาติไทย ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์สูงสุดของชาติ ๒. ทำให้เกิดความรัก ความสามัคคี ของคนในชาติโดยใช้ผืนธงไตรรงค์ ธงชาติไทย เป็นหลักยึดเหนี่ยวเพื่อให้คนไทยทุกคนมองเห็นชาติเป็นสำคัญ โดยการฉลอง ๑๐๐ ปี ธงชาติไทยนั้น จะมุ่งเน้นให้คนไทยทั้งประเทศมีส่วนร่วม เพื่อลดความขัดแย้งต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต โดยให้มองเห็นความเป็นชาติไทยผ่านผืนธงชาติเป็นสำคัญ ทั้งยังเสริมสร้างความภาคภูมิใจให้กับคนไทยในฐานะที่ชาติไทยเป็นชาติที่มีเอกราชมาโดยตลอด ตัวอย่างคลิปกิจกรรมการบรรยาย : ตัวอย่างคลิปการจัดกิจกรรมบรรยายประวัติธงชาติไทย รวมถึงกฎ ระเบียบ การใช้ การชัก การประดับ การแสดงความเคารพ และบทลงโทษเกี่ยวกับธงชาติไทยโดยพิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย • บรรยายประวัติธงชาติไทยในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปี ธงชาติไทย โดยสำนักนายกรัฐมนตรี • ประวัติธงชาติไทย ณ กรมยุทธศึกษา โรงเรียนกิจการพลเรือนทหารบก • สอนประวัติธงชาติไทย ณ โรงเรียนแม่ปะวิทยาคม แม่สอด จ. ตาก ![]() ![]() หนังสือและจดหมายการประชุมเรื่องการจัดงานครบรอบ ๑๐๐ ปี ธงชาติไทย ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() เพื่อสนับสนุนการประดับธงชาติไทย ในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปี ธงชาติไทย ![]() เนื่องด้วยปี พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นปีฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี ของการประกาศใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย เพื่อเป็นการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ที่ทรงออกแบบธงไตรรงค์และพระราชทานเป็นธงชาติไทยในวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๐ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ ทุกกระทรวง ทุกภาคส่วน และทุกหน่วยงาน ร่วมใจกันประดับธงชาติไทยในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปี ธงชาติไทย ซึ่งพิพิธภัณฑ์ธงชาติไทยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการจัดกิจกรรมฉลอง ๑๐๐ ปี การประกาศใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย ซึ่งลงนามแต่งตั้งโดยท่านนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตามหนังสือเลขที่ ๒๑๐/๒๕๕๙ ดังนั้นเพื่อเป็นการสนับสนุนให้การประดับธงชาติไทยให้เกิดผลเป็นรูปธรรมตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทยจึงได้จัดทำผืนธงไตรรงค์ธงชาติไทย ขนาดมาตรฐานกว้าง ๖๐ ซม. ยาว ๙๐ ซม. โดยมีมาตรฐานแถบสีธงชาติไทยเป็นไปตามประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่องรูปธงชาติตามพระราชบัญญัติธง พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๒๔๕ ง ลงวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๖๐ ลงชื่อ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยได้มีการจัดจำหน่ายในราคาพิเศษและเป็นกรณีพิเศษเพื่อสนับสนุนให้มีการประดับธงชาติไทยในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปี ธงชาติไทย โดยองค์กรและหน่วยงานต่างๆ สามารถสั่งซื้อโดยตรงได้ที่ : พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย และรายได้จากการจำหน่ายจะถูกนำไปก่อสร้างศูนย์เรียนรู้ธงชาติไทยในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปี ธงชาติไทย ![]() มาตรฐานแถบสีเป็นไปตามตามประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่องรูปธงชาติตามพระราชบัญญัติธง พ.ศ. ๒๕๒๒ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๒๔๕ ง ลงวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๖๐ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ใช้เทคโนโลยีพิมพ์ธงทั้งผืน ไม่ใช้วิธีการเย็บระหว่างแถบสี ยุติปัญหาแถบสีธงชาติฉีกขาดจากรอยเย็บเมื่อโดนลมพัดขณะประดับอยู่บนเสา ผ้าที่ใช้ผลิตธงเป็นวัสดุใยสังเคราะห์เนื้อเหนียว คุณภาพสูง น้ำหนักเบา พลิ้วลมได้ดี ทนทานต่อทุกสภาพอากาศได้มากกว่าผ้าที่ใช้ทำธงโดยทั่วไป ควบคุมการผลิตโดย พฤฒิพล ประชุมผล ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย หนึ่งในผู้กำหนดมาตรฐานแถบสีธงชาติไทย และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการจัดงานฉลองรอบรอบ ๑๐๐ ปี ธงชาติไทย แต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี และทุกๆ ยอดสั่งซื้อชุดพัฒนาการธงชาติไทย (หนึ่งชุดมี ๖ ผืน ๖ แบบ) และชุดนิทรรศการธงชาติไทย (ป้ายจัดแสดงเคลื่อนที่ Roll Up) ทุกๆ ๑,๐๐๐ บาท จะได้รับริสต์แบนด์ฉลอง ๑๐๐ ปี ธงชาติไทย จำนวน ๑ เส้น ฟรี ซึ่งริสต์แบนด์ฉลอง ๑๐๐ ปี ธงชาติไทย ได้รับอนุญาตให้จัดทำโดยสำนักนายกรัฐมนตรี เลขที่ นร ๐๑๐๖/๕๓๓๙ ![]() ![]() สำหรับหน่วยงานที่จัดซื้อชุดพัฒนาการธงชาติไทย (หนึ่งชุดมี ๖ ผืน ๖ แบบ) และ ชุดนิทรรศการธงชาติไทย (ป้ายจัดแสดงเคลื่อนที่ Roll Up หนึ่งชัดมี ๕ ตัว) หน่วยงานของท่านจะได้รับใบเกียรติบัตรจากพิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่ร่วมประดับธงชาติไทยในการฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี ธงชาติไทย ![]()
* ท่านสามารถหาซื้อแพคเกจธงชาติไทยขนาดมาตรฐานกว้าง ๖๐ ซม. ยาว ๙๐ ซม. ซึ่งมีมาตรฐานแถบสีเป็นไปตามประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่องรูปธงชาติตามพระราชบัญญัติธง พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๒๔๕ ง เป็ครั้งแรกในประเทศไทย ได้ที่ห้างบิ๊กซี (BIG-C) แผนกเครื่องเขียนทุกสาขา
** รายได้จากการจำหน่ายสนับสนุนการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย และสมทบทุนก่อสร้างสร้างศูนย์เรียนรู้ธงชาติไทย |